อิทธิพลของโซเชี่ยลมีเดียต่อการเมือง


วันนี้ถือเป็นวันประวัติศาสตร์ของการเมืองไทยอีกวันหนึ่ง เพราะคนหลักล้านคน ได้มารวมตัวกันที่ทำเนียบรัฐบาลและสถานที่ต่างๆ ในกทม. เพื่อเรียกร้องการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง

สิ่งหนึ่งที่เราปฏิเสธไม่ได้ก็คือ พลังของโซเชี่ยล มีเดีย ที่ส่งผลให้เป็นเช่นนี้ ด้วยการ ไลค์ เม้นท์ แชร์ ! เพียงแค่นี้ ก็ดึงผู้คนมารวมกัน แล้วขับเคลื่อนการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองให้เกิดขึ้นได้

พลังของ โซเชี่ยลมีเดีย ไม่ใช่เพิ่งแสดงให้เห็นในวันนี้ในเรื่องของการเมือง ถ้าลองย้อนกลับไปดู การเลือกตั้งใน สหรัฐอเมริกา เมื่อปี 2008 และ ปี 2012 บารัก โอบาม่า ได้ใช้สื่อโซเชี่ยลมีเดีย เป็นส่วนสำคัญ จนเอาชนะคู่แข่งและได้ประธานาธิบดีสองสมัยซ้อน

ในช่วงเดือน พฤศจิกายน ปี 2012 ที่ โอบาม่า จาก พรรรคเดโมแครต แย่งชิงตำแหน่งกับ มิตต์ รอมนีย์ จากพรรครีพับลิกัน ในช่วงนั้น โอบาม่า มีจำนวนสมาชิกใน Fan Page มากถึง 31.1 ล้านคน ขณะที่ มิตต์ รอมนีย์ มีเพียง 10.2 ล้านคน... จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลก ที่โอบาม่า จะคว้าชัยได้อีกครั้ง

สำนักงานข่าวต่างประเทศ อ้างถึงผลสำรวจของ Pew Research Center's Internet & American Life Project ซึ่งได้ทำการรายงานตลอดการหาเสียงเลือกตั้งผ่าน โซเชี่ยลมีเดีย ระบุว่า

"กว่า 30% ของผู้ลงทะเบียนเลือกตั้ง ได้รับการแนะนำจากเพื่อนและครอบครัวผ่านโซเชี่ยลเน็ตเวิร์ค เพื่อสนับสนุนการเลือกตั้งประธานาธิบดีโอบาม่า และ มิตต์ รอมนีย์

ในขณะที่ 20% ของผู้ลงทะเบียนการเลือกตั้งได้รับการโพสต์ข้อความบนเครือข่ายเฟซบุ๊คและทวิตเตอร์"

Pew Research Center ยังรายงานต่อว่า "25% ของโซเชียลมีเดีย มีผู้สนใจอ่านติดตามประเด็นการเมืองออนไลน์อย่างต่อเนื่อง และ 16% เปลี่ยนมุมมองต่อการเมืองหลังจากได้ติดตามอ่านข้อมูลทางออนไลน์"

กลับมาดูในเมืองไทยกันบ้าง

นส.ปัทมาภรณ์ ผู้อำนวยการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท โซเชี่ยลอิงค์ กล่าวว่า

"จากการติดตาม โซเชี่ยลอิงค์ ระหว่างวันที่ 11 ต.ค. - 12 พ.ย. พบว่ากระแสการพูดถึงเรื่องกฏหมายนิรโทษกรรมและการประท้วงการคัดค้านบน โซเชี่ยลมีเดีย เริ่มมีมากขึ้นตามลำดับ แต่วันที่ 6 พ.ย. เป็นวันที่มีการพูดถึงการประท้วงมากที่สุด บนทุกช่องทางออนไลน์และโซเชี่ยลมีเดีย...

ถ้าดูจากการไทม์ไลน์บนเฟซบุ๊ค จะเห็นว่าเกิดกระแสการคัดค้านอย่าง 'สุดกำลัง' โดยเฉพาะวันที่ 6 พ.ย. เพียงวันเดียว มีคนตั้ง Status มากถึง 24,000 Status และมีคนแชร์มากกว่า 5 แสนครั้ง แสดงว่าต้องมีคนเห็นเป็นหลักล้านแน่นอน"

วัฒนธรรมการเสพสื่อออนไลน์ อย่างโซเชี่ยลมีเดีย ของไทยนั้นไม่แตกต่างจาก อเมริกันชนเท่าไหร่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบนเฟซบุ๊ค ผู้คนอาศัยอยู่ที่นี่ซะจนเป็น "วิถีชีวิต" ประจำวันไปแล้ว ...การที่เฟซบุ๊ค ทำให้คนมารวมตัวกันได้ง่ายกว่าเดิมนั้น สอดคล้องตามพันธกิจ ของมาร์ก ซักเกอร์เบิร์ก ผู้ก่อตั้งเฟซบุ๊ค ที่ว่า

"พันธกิจของเราคือ ช่วยให้โลกนี้เปิดกว้างและเชื่อมโยงกันมากขึ้น.."


เหตุบ้านการเมืองวันนี้ ส่วนสำคัญของการเปลี่ยนแปลง มาจากโซเชี่ยลมีเดีย อย่างไม่ต้องสงสัย...จนถึงขนาด มีคนบนเฟซบุ๊ค ทำรูปล้อเลียนการเมืองขึ้นมาจากรูปของพี่มาร์กเราเลยทีเดียว ฮาาาา

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวม 26 คำคม เพจ "คำคมผู้นำ ถ้อยคำแห่งปราชญ์" ที่คนแชร์มากที่สุดเดือน สิงหาคม - ตุลาคม

ปรัชญาในการดำเนินชีวิตของผม

รวม "คำคมผู้นำ ถ้อยคำแห่งปราชญ์" เรื่อง "ความซื่อสัตย์"

แผนการตลาดในธุรกิจเครือข่าย

วิธีหยุดนิสัย...ซุบซิบนินทาของคนอื่นในทันที !!