31 พฤษภาคม วันงดสูบบุหรี่โลก

banner_คำขวัญวันงดสูบบุหรี่โลกขององค์การอนามัยโลก54

วันงดสูบบุหรี่โลก (World No Tobacco Day) ตรงกับวันที่ 31 พฤษภาคม ของทุกปี เริ่มจัดครั้งแรกเมื่อ วันที่ 31 พฤษภาคม ค.ศ. 1988 โดยองค์การอนามัยโลก เพื่อให้เห็นอันตรายของบุหรี่ต่อสุขภาพ ของผู้สูบบุหรี่และผู้ไม่สูบบุหรี่แต่ได้รับควันบุหรี่ การจัดงานวันงดสูบบุหรี่โลกก็เพื่อกระตุ้นให้ผู้สูบบุหรี่เลิกสูบ และให้รัฐบาลชุมชนและประชากรโลก ตระหนักถึงความสำคัญและเข้าร่วมกิจกรรม
รายละเอียดกิจกรรมวันงดสูบบุหรี่โลก_2011_-_สำหรับสื่อมวลชน

nosmoking
สารประกอบในบุหรี่

บุหรี่มีสารประกอบต่างๆอยู่ประมาณ 4000 ชนิด มีสารก่อมะเร็งไม่ต่ำกว่า 42 ชนิด ซึ่งสารบางชนิดเป็นอันตรายที่สำคัญ ได้แก่


1. นิโคติน เป็นสารที่ทำให้คนติดบุหรี่ ออกฤทธิ์โดยตรงต่อสมองทั้งเป็นตัวกระตุ้นและกดประสาทส่วนกลาง ถ้าได้รับสารนี้ขนาดน้อยๆ เช่น การสูบบุหรี่ 1-2 ม้วนแรก อาจกระตุ้นทำให้รู้สึกกระปรี้กระเปร่า แต่ถ้าสูบมากหลายม้วนก็จะไปกดประสาทส่วนกลาง ทำให้ความรู้สึกต่างๆช้าลง


ร้อยละ 95 ของนิโคติน จะไปจับอยู่ที่ปอด บางส่วนจับอยู่ที่เยื่อหุ้มริมฝีปาก และบางส่วนถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือดมีผลโดยตรงต่อต่อมหมวกไต ก่อให้เกิดการหลั่งอิพิเนฟริน (Epinephrine) 

ทำให้ความดันโลหิตสูงขึ้น หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติและไม่เป็นจังหวะ หลอดเลือดที่แขนและขาหดตัว เพิ่มระดับไขมันในเส้นเลือด 

บุหรี่ 1 ม้วนจะมีนิโคติน 0.8-1.8 มิลลิกรัม (ค่ามาตรฐานสากลกำหนดไว้ 1 มิลลิกรัม) และสำหรับบุหรี่ก้นกรองนั้นก็ไม่ได้ช่วยให้ปริมาณนิโคตินลดลงได้

2. ทาร์ สารคล้ายน้ำมันดิน ประกอบด้วยสารหลายชนิด เกาะรวมกันเป็นสารสีน้ำตาล เป็นสารที่ก่อให้เกิดมะเร็งได้ เช่น มะเร็งปอด กล่องเสียง หลอดลม หลอดอาหาร ไต กระเพาะปัสสาวะ และอื่นๆ ซึ่งร้อยละ 50 ของทาร์จะไปจับที่ปอด ทำให้เกิดการระคายเคืองอันเป็นสาเหตุของการไอเรื้อรัง

ในคนที่สูบบุหรี่วันละซอง ปอดจะได้รับน้ำมันทาร์เข้าไปประมาณ 30 มิลลิกรัม/มวน หรือ 110 กรัม/ปี บุหรี่ไทยมีสารทาร์อยู่ระหว่าง 12-24 มิลลิกรัม/มวน

3. คาร์บอนมอนอกไซด์ เป็นก๊าซที่ทำลายคุณสมบัติในการนำพาออกซิเจนของเม็ดเลือดแดง ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถจับกับออกซิเจนได้เท่ากับระยะเวลาปกติ ทำให้เซลร่างกายเกิดอาการขาดออกซิเจน จะรู้สึกมึนงง ตัดสินใจช้า เหนื่อยง่าย ซึ่งสาเหตุสำคัญให้หัวใจต้องทำงานหนักขึ้นจนเป็นโรคหัวใจได้

4. ไฮโดรเจนไซยาไนด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุผิวหลอดลมส่วนต้นทำให้เกิดอาการไอเรื้อรัง มีเสมหะเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงตื่นนอนตอนเช้าจะมีมากขึ้น

5. ไนโตรเจนไดออกไซด์ เป็นก๊าซพิษที่ทำลายเยื่อบุส่วนปลายและถุงลมทำให้ผนังถุงลมบางและโป่งพอง ถุงลมเล็กในปอดแตกกลายเป็นถุงขนาดใหญ่ ทำให้ลดพื้นที่ผิวที่จะใช้จับและแลกเปลี่ยนก๊าซออกซิเจน ทำให้การยืดหยุ่นในการหายใจเข้าออกลดลง จนเกิดอาการโรคถุงลมโป่งพองในที่สุด

6. แอมโมเนีย มีฤทธิ์ระคายเคืองเนื้อเยื่อ ทำให้แสบตาแสบจมูก หลอดลมอักเสบ ไอ และมีเสมหะมาก

7. สารกัมตภาพรังสี ในควันบุหรี่มีสารโพโลเนี่ยม 210 ที่มีรังสีอัลฟ่าอยู่เป็นสาเหตุการเกิดโรคมะเร็งปอด และควันบุหรี่ยังเป็นพาหะที่ร้ายแรงในการนำสารกัมมันตภาพรังสี ทำให้ผู้ที่อยู่รอบข้างที่ไม่ได้สูบบุหรี่หายใจเอาอากาศที่มีสารพิษเหล่านี่เข้าไปด้วย


วันงดสูบุหรี่โลก

ประโยชน์ของการเลิกสูบบุหรี่

1. การหยุดสูบบุหรี่เป็นผลดีต่อสุขภาพเป็นอย่างมาก และเป็นผลดีที่เกิดขึ้นได้ทันทีที่เลิกสูบ ทั้งในเพศ
หญิงและชาย ในทุกกลุ่มอายุไม่ว่าจะป่วยด้วยโรคจากการสูบบุหรี่แล้วหรือไม่ก็ตาม

2. ผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ จะมีอายุยืนยาวกว่าผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่อยู่ต่อไป โดยผู้ที่เลิกสูบบุหรี่ก่อนอายุ 50 ปีจะมีโอกาสเสียชีวิตเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ที่ยังคงสูบต่อไปเมื่อทั้งสองกลุ่มมีอายุ 65 ปี

3. การเลิกสูบบุหรี่ลดโอกาสเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปอด มะเร็งในระบบอื่นๆ หัวใจวายกระทันหัน เส้นเลือดในสมองตีบตันกะทันหัน โรคถุงลมโป่งพอง และโรคปอดเรื้อรังอื่นๆ

4. ผู้หญิงที่หยุดสูบบุหรี่ก่อนการตั้งครรภ์หรือระหว่าง 3 - 4 เดือนแรกของการตั้งครรภ์ จะลดความเสี่ยงที่ลูกจะมีน้ำหนักแรกคลอดน้อยกว่าปกติ

5. ผลดีที่จะเกิดขึ้นต่อสุขภาพจากการหยุดสูบบุหรี่มีมาก น้ำหนักเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ยประมาณ 2.3 กิโลกรัม

6. ในการหยุดสูบบุหรี่ เมื่อเทียบกับผู้ที่ยังคงสูบบุหรี่ต่อไป ความเสี่ยงของการที่จะเสียชีวิตจะลดลงอย่างรวดเร็ว

วันงดสูบบุหรี่โลก

ควันบุหรี่มีผลต่อบุคคลข้างเคียง

การสูบบุหรี่นั้นนอกจากจะมีผลต่อผู้สูบโดยตรงแล้ว ยังทำให้ผู้อื่นที่อยู่ในระยะของควันบุหรี่สูดเอาพิษจากควันบุหรี่เข้าไปด้วย ทำให้เกิดอันตรายได้เช่นเดียวกับผู้สูบบุหรี่ ซึ่งผลกระทบของบุหรี่ที่มีผลต่อคนข้างเคียงพอสรุปได้ดังนี้

1. เด็ก การสูบบุหรี่ของคนในครอบครัว ทำให้เด็กป่วยด้วยโรคหลอดลมอักเสบ ปอดบวม หอบหืด หูอักเสบเพิ่มมากขึ้น

2. หญิงมีครรภ์ หญิงมีครรภ์สูบบุหรี่ จะทำให้น้ำหนักตัวในขณะตั้งครรภ์เพิ่มน้อยกว่าปกติ และมีโอกาสแท้ง คลอดก่อนกำหนด ตกเลือดในระหว่างคลอด และหลังคลอดมากเป็น 2 เท่าของหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้สูบบุหรี่

นอกจากนั้นยังทำให้เกิดภาวะรกเกาะต่ำ และรกลอกตัวก่อนกำหนดมากขึ้นลูกที่คลอดจากแม่ที่สูบบุหรี่ อาจมีน้ำหนักและความยาวตัวน้อยกว่าปกติ พัฒนาการทางด้านสมองช้ากว่าเด็กปกติ อาจมีความผิดปกติทางด้านระบบประสาท ระบบความจำ

3. คู่สมรสของผู้สูบบุหรี่ มีโอกาสเป็นมะเร็งปอดมากกว่าคู่สมรสที่ไม่สูบบุหรี่เป็น 2 เท่า มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคหัวใจ 3 ท่า และเสียชีวิตเร็วกว่าปกติถึง 4 ปี

4. คนทั่วๆไป บุคคลทั่วๆไปที่อยู่ในบรรยากาศที่ผู้อื่นสูบบุหรี่อยู่ ควันบุหรี่จะทำให้เกิดอาการเคืองตา ปวดศีรษะ คัดจมูก น้ำมูกไหล โดยเฉพาะผู้ที่เป็นโรคหอบหืดอยู่แล้ว โรคหัวใจ โรคหลอดลมอักเสบ มีอาการกำเริบเพิ่มมากขึ้น 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก http://www.thailabonline.com/tobacco

ความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

รวม 26 คำคม เพจ "คำคมผู้นำ ถ้อยคำแห่งปราชญ์" ที่คนแชร์มากที่สุดเดือน สิงหาคม - ตุลาคม

ปรัชญาในการดำเนินชีวิตของผม

รวม "คำคมผู้นำ ถ้อยคำแห่งปราชญ์" เรื่อง "ความซื่อสัตย์"

แผนการตลาดในธุรกิจเครือข่าย

วิธีหยุดนิสัย...ซุบซิบนินทาของคนอื่นในทันที !!