ขวดน้ำพลาสติกใช้ซ้ำ อันตรายหรือเปล่า ???
หลังจากที่ได้ศึกษาเกี่ยวกับขวดน้ำพลาสติกอย่างจริงจัง ผมได้พบข้อมูลการวิจัยต่างๆ มากมายจากผู้เชี่ยวชาญและกูรูด้านขวดพลาสติกจากทั่วโลก วันนี้จึงอยากจะนำมาตีแผ่ให้เพื่อนๆ พี่ๆ น้องๆ ทุกคนได้รู้ว่า ขวดพลาสติกที่เราดื่มกินกัน ปลอดภัยหรืออันตรายกันแน่ ???
ขวดเหล่านี้จะมีความปลอดภัยในการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้น ก็ต้องไม่นานกว่า 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ถือว่านานที่สุด และต้องเก็บไว้ให้ห่างจากความร้อนด้วยเช่นกัน"
ขวดน้ำพลาสติกชนิดใส หรือเรียกกันว่าขวดเพท (PET) ที่เราซื้อจากร้านสะดวกซื้อ ขวดละ 7-15 บาท ผมเชื่อว่า ทุกคนคงต้องเคยซื้อมาดื่มบ้างไม่มากก็น้อย วันนี้เรามาดูข้อมูลเชิงวิเคราะห์กัน
ข้อมูลจากแหล่งหนึ่งบอกว่า
"มีเหตุการณ์หนึ่งเกิดขึ้นใน ดูไบ ที่เด็กหญิงอายุ 12 ปี เสียชีวิตหลังจากการใช้ขวดน้ำแร่ใส่น้ำไปโรงเรียนเป็นระยะเวลานานถึง 16 เดือน ซึ่งพลาสติกที่เรียกว่า PET บรรจุสารที่เป็นตัวการสำคัญที่เรียกว่า Diethyl hydroxylamine or DEHA
ขวดเหล่านี้จะมีความปลอดภัยในการใช้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากคุณต้องการเก็บไว้ให้นานขึ้น ก็ต้องไม่นานกว่า 2-3 วัน หรือ 1 สัปดาห์ ถือว่านานที่สุด และต้องเก็บไว้ให้ห่างจากความร้อนด้วยเช่นกัน"
ข้อมูลจาก นพ.กฤษฎา ศิรามพุช ผอ.สถาบันเวชศาสตร์อายุรวัฒน์นานาชาติ กล่าวถึงการนำขวดมาใช้ซ้ำว่า มีอันตรายจริง !! โดยเฉพาะเมื่อโดนของเย็นจัดหรือร้อนจัด หรือโดนขูดขีด รอยจากการกระแทก เนื่องจากจะทำให้มีสาร BPA ซึ่งเป็นสารเคมีก่อมะเร็งหลุดออกมาปนกับขวดน้ำพลาสติกได้
นอกจากนั้นงานวิจัยของฮาร์วาร์ด พบว่า การได้รับสารนี้เพียง 3-4 ส่วนในล้านส่วน ก็ก่อมะเร็งในหนูทดลองได้
สิงหาคม ปี 2011 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย ได้ประกาศเตือนภัยสารบีพีเอ ในขวดนมทารกที่มีหมายเลข 7
สิงหาคม ปี 2011 สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย ได้ประกาศเตือนภัยสารบีพีเอ ในขวดนมทารกที่มีหมายเลข 7
ข้อมูลจากนักวิจัยของสวิตเซอร์แลนด์ ได้ทำการศึกษาอย่างจริงจังโดยเรียกเก็บขวดเพทจากทั่วยุโรป ที่มีรอยขูดขีด ร้าว บุบ ผลปรากฏว่าไม่พบสารเคมีที่ก่อมะเร็งแต่อย่างใด
ข้อมูลจากสมาคมพลาสติกสหรัฐอมเริกา (The America Plastics Council) ยืนยันว่า “วัตถุดิบที่ใช้ในการผลิตขวด PET ไม่มีสาร DEHA เป็นสารประกอบ”
ส่วนองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (The US Food and Drug Administration) และองค์กรด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Authority) แห่งประเทศนิวซีแลนด์ ก็ออกมายืนยันแล้วว่า “ขวด PET ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร” เช่นกัน
ส่วนองค์การอาหารและยาของสหรัฐอเมริกา (The US Food and Drug Administration) และองค์กรด้านความปลอดภัยทางอาหาร (Food Safety Authority) แห่งประเทศนิวซีแลนด์ ก็ออกมายืนยันแล้วว่า “ขวด PET ผ่านมาตรฐานความปลอดภัยของภาชนะบรรจุอาหาร” เช่นกัน
ข้อมูลจากการศึกษาของสถาบันวิทยาศาตร์ธรรมชาติแห่งสหรัฐอเมริกา (Institutional Life Sciences Institute) กล่าวว่า “ระดับความเป็นไปได้ที่สารปนเปื้อนจะแพร่ออกจากขวด PET ต่ำกว่ามาตรฐานด้านความปลอดภัยที่กำหนดไว้ และปริมาณของสารปนเปื้อนก็ต่ำกว่าระดับที่จะก่อให้เกิดผลทางพิษวิทยา”
เอาล่ะ ทีนี้เราจะเชื่อใครดี ???
สำหรับตัวผมเองมักจะเจอกรณีนี้อยู่บ่อยมาก หากเราพูดถึงเชิงธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิตพลาสติกนั้นใหญ่มาก เราจะรู้ได้อย่างไรว่าเบื้องหลังบริษัทใหญ่ๆเหล่านี้จะไม่จ้างนักวิจัย ให้ศึกษาในด้านที่เอื้อประโยชน์ต่อกัน
ถ้าเป็นขวดน้ำพลาสติกตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นเบอร์ 1 เท่าที่ผมสังเกต
ถ้าเป็นขวดน้ำพลาสติกตามท้องตลาดส่วนใหญ่จะเป็นเบอร์ 1 เท่าที่ผมสังเกต
จากความเห็นของผม ไม่ว่าจะอะไรก็ตามที่มีข้อมูลมาทั้งสองฝั่งสองฟากแบบนี้ ผมอยากจะให้ทุกท่าน"เลือก"เชื่อข้อมูลทางด้านลบไว้ก่อน เพราะเนื่องจากผมเคยเป็นมะเร็งมาแล้วถึงสามครั้งในรอบ 6 ปีที่ผ่านมา ผมจึงรู้ดีว่าการปล่อยปะละเลย แล้วคิดว่าไม่เป็นไรๆ นั้นเป็นสิ่งที่ประมาท ที่จะนำความเจ็บปวดแสนสาหัสมาให้เราในที่สุด
สรุปก็คือ เราควรใช้พลาสติกเกรดดีๆ ดูตัวเลขที่เป็นกลุ่มสีเขียว หรือเป็นแก้วได้จะดีที่สุด ส่วนขวดพลาสติกเบอร์ 1 หรือ 01 หากไม่ได้เก็บไว้ในรถร้อนๆ และอยู่ในที่ร่มก็ถือว่าพอใช้ซ้ำได้บ้าง แต่ถ้าดูว่าเก่าแล้วก็ควรทิ้งไป ส่วนคนที่ต้องเดินทางบ่อย หากเก็บน้ำไว้ในรถ แล้วไม่ควรกินน้ำที่อยู่ในขวดเลยถ้ารถโดนแดดร้อนๆ
ด้วยความปรารถนาดีจาก...ภก.แอดมินซัน Pharmacist Thailand
ด้วยความปรารถนาดีจาก...ภก.แอดมินซัน Pharmacist Thailand
-------------------------------------------------------------
"คำว่า 'ไม่เป็นไรน่า นิดๆ หน่อยๆ' ถ้าใช้บ่อยครั้งก็จะกลายเป็น 'มากๆ' ได้
ดังนั้นอย่าประนีประนอมกับสุขภาพของคุณ"