จอห์น ดี ร็อกกี้เฟลเลอร์ มหาเศรษฐีพันล้านคนแรกในประวัติศาสตร์ (1839-1937)
ในชีวิตการทำงาน ร็อคกี้เฟลเลอร์ไม่เคยยิ้ม นอกจากจะเจรจาธุรกิจประสบความสำเร็จแล้วเท่านั้น เขาส่อแววนักธุรกิจตั้งแต่เด็กๆ เมื่อเขาซื้อลูกอมจากร้าน มาขายให้กับพี่ๆ น้องๆ เพื่อทำกำไร ...เขาเป็นคนที่จริงจังและอ่อนไหวกับการทำงานมาก เขาจะแสดงความดีใจจนกระโดดตัวลอย หากได้รับข่าวดีจากการค้าใหญ่ๆ แต่หากผิดพลาดในธุรกิจ เขาจะเศร้าเสียใจ บางครั้งถึงกับล้มป่วย
"เรื่องของร็อกกี้เฟลเลอร์ เป็นตัวอย่างในเรื่องของการขาดดุลยภาพแห่งชีวิตที่ดีมากที่สุดเรื่องหนึ่ง คล้ายๆกับการทำงานของคนเมืองส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน ที่มุ่งทำงานหาเงินให้ได้มากที่สุดแล้วคิดว่าจะมีความสุขที่สุด จนในบางครั้งเราอาจจะหลงลืมไปว่า...
ร็อกกี้เฟลเลอร์ มีรายได้ 1 ล้านเหรียญแรกเมื่ออายุ 23 ปี และสร้างอาณาจักรธุรกิจน้ำมัน Standard Oil Company เมื่ออายุ 43 ปี
เขาเป็นคนที่ระมัดระวังการใช้จ่าย และคิดเล็กคิดน้อยในเรื่องของเงินทอง ครั้งหนึ่ง เพื่อนฝูงได้รับเชิญไปค้างแรมที่บ้านพักของเขา ต่างถูกเรียกเก็บเงินค่าที่พักจำนวน 10 เหรียญกันทุกคน
นอกจากนั้นเขายังเคยยืมเงินของเลขาตนเอง 5 เซนต์ เพื่อใช้โทรศัพท์สาธารณะ แต่เลขาของเขาไม่กล้าที่จะขอเงินคืนจากเขา ...เขาจึงสั่งสอนว่า "รู้หรือเปล่าว่าเงิน 5 เซนต์นี่เท่ากับดอกเบี้ย 1 ปีของ 1 ดอลลาร์เชียวนะ"
เขาเป็นคนที่ไม่มีเวลาให้กับกิจกรรมอื่นนอกจากงาน เขามักจะสั่งสอนลูกน้องว่า "ทำงานของคุณไป แล้วเงียบซะ!!" เขาทำให้ลูกน้องของเขามีแต่ความเกรงกลัว เมื่อถึงจุดหนึ่งเขาก็พบว่า ไม่มีใครชอบเขาอย่างจริงใจ แม้สังคมก็ให้คำนิยามชีวิตในช่วงนั้นของเขาว่า "วิตกจริตและไร้ซึ่งอารมณ์ขัน"
พ่อมดการเงินอย่าง เจ.พี. มอร์แกน ถึงกับเอ่ยปากว่า "ผมไ่ม่ชอบคนแบบนั้น และไม่อยากมีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับเขาทั้งสิ้น"
จุดพลิกผันในชีวิตของร็อกกี้เฟลเลอร์ คือช่วงอายุ 53 ปี เขามีปัญหาสุขภาพรุนแรงเข้าขั้นวิกฤติ ร็อกกี้เฟลเลอร์ผู้เติบโตมาในฟาร์มมีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ ผอมจนเหลือแต่หนังหุ้มกระดูก ผิวหนังแห้งขาดความยืดหยุ่น ผมร่วงอย่างไม่ทราบสาเหตุ แพทย์สรุปว่าน่าจะมาจากการทำงานหนัก ขาดการพักผ่อน เครียดกับชีวิตมากเกินไป
ช่วงนั้นร็อกกี้เฟลเลอร์ ไม่สามารถทานอาหารปกติได้ กินได้แต่โยเกิร์ต ที่เป็นอาหารย่อยง่ายประทังชีวิต แม้จะมีรายได้มากกว่า 1 ล้านเหรียญต่อสัปดาห์ก็ตาม
แพทย์ยื่นคำขาดให้กับเขา ด้วยทางเลือก 2 ทาง คือ ปล่อยวางจากงานทุกอย่าง หรือ ตาย พร้อมกำหนดแนวทางในการดำเนินชีวิตใหม่ 3 ข้อ คือ
1) ปล่อยวางทิ้งความกังวล ไม่ผูกมัดกับสิ่งใดๆ
2) ทำใจให้ผ่อนคลาย ออกกำลังกายอย่างพอเหมาะ
3) เรื่องอาหาร ไม่ให้รับประทานอาหารมากจนเกินไป
ร็อกกี้เฟลเลอร์ เริ่มสำนึกได้ว่า เงินทองที่มีอยู่มากมายมหาศาล ไม่สามารถทำให้เขามีความสุข และสุขภาพดีได้เสมอไป เขาปล่อยวางจากหน้าที่การงาน เริ่มเข้างานสังสรรค์กับเพื่อนบ้าน ทำกิจกรรมต่างๆ รวมถึงบริจาคการกุศลให้กับสังคม
แม้ระยะแรกจะได้รับการต่อต้านจากสังคม สมาคม การกุศลต่างๆ เพราะยังติดภาพพจน์นายทุนหน้าเลือดในอดีต แต่เขาก็ยังสนับสนุนการกุศลต่างๆอย่างต่อเนื่อง และเมื่อได้ทราบว่ามีโรงเรียนแห่งหนึ่งกำลังจะถูกยึดเนื่องจากติดจำนอง เขาก็ได้บริจาคเงินกว่าล้านเหรียญฯ เพื่อให้โรงเรียนสามารถดำเนินการต่อได้ ซึ่งกลายมาเป็นมหาวิทยาลัยชิคาโกในปัจจุบัน
เขาได้สร้างมหาวิทยาลัยร็อกกี้เฟลเลอร์ และมูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์ขึ้น มูลนิธิร็อกกี้เฟลเลอร์มีเครือข่ายทั่วโลก ให้การช่วยเหลือผู้ด้อยโอกาส สนับสนุนทุนในการวิจัยทางด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ สาธารณสุข การศึกษา ฯลฯ
ร็อคกี้เฟลเลอร์ ใช้ชีวิตต่อมาอย่างเต็มไปด้วยความสุขที่ได้จาก"การให้" และสิ้นสุดชีวิตลงด้วยอายุ 98 ปี
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
หนังสือ CEO โลกตะวันออก
------------------------------------------------------------
"ความสำเร็จในชีวิตไม่ใช่การที่ไม่เคยพ่ายแพ้
หากแต่เพิ่มขึ้นทุกครั้งที่ล้มลง"
Anonymous
"เรื่องของร็อกกี้เฟลเลอร์ เป็นตัวอย่างในเรื่องของการขาดดุลยภาพแห่งชีวิตที่ดีมากที่สุดเรื่องหนึ่ง คล้ายๆกับการทำงานของคนเมืองส่วนใหญ่ในยุคปัจจุบัน ที่มุ่งทำงานหาเงินให้ได้มากที่สุดแล้วคิดว่าจะมีความสุขที่สุด จนในบางครั้งเราอาจจะหลงลืมไปว่า...
การมีเวลาให้กับครอบครัว ความสัมพันธ์คนรอบข้าง มิตรสหาย การมีสุขภาพดี การพักผ่อน การท่องเที่ยว การให้ทาน การช่วยเหลือผู้อื่น นั้นก็ทำให้เรามีความสุขทั้งกาย ใจ และในเมื่อชีวิตของเราทุกคนต่างก็มีอิสระในการ'เลือก'แล้ว ก็ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในชีวิตทุกๆด้านในเส้นทางของที่คุณเลือกเอง ไม่ใช่เส้นทางที่คนอื่นเลือกให้"
ภก.กิตติชาญ ภคภาพรวงศ์ (ซัน)
ผู้นำธุรกิจเครือข่ายออนไลน์